บันทึกผลการทำกิจกรรม_บทที่ 5

กิจกรรม บทที่ 5 กิจกรรมเพื่อส่งเสริมการนึกนิมิตให้เป็นไปได้

การนึกนิมิตในกลางกายได้ เป็นเครื่องหมายบ่งชี้ถึงความสำเร็จในการทำสมาธิ สิ่งสำคัญพึงสังเกตคือ ขณะนึกนั้นมีความสบายหรือไม่ มีความพอใจหรือมีความเพลิดเพลินหรือไม่ หากนึกนิมิตได้แต่มีอาการกดอาการเกร็ง ยังถือว่าไม่ถูกต้อง และนิมิตนั้นจะอยู่ได้ไม่นาน ตรงกันข้ามหากนึกนิมิตได้แม้ไม่ชัด แต่มีความรู้สึกว่านิมิตนั้นอยู่กลางกาย อีกทั้งมีความสุข มีความสบาย มีความพอใจเพลิดเพลินไปด้วย นั่นถือว่าการนึกนิมิตนั้นถูกต้องและได้ผลแล้วในเบื้องต้น คือ มีความสุข มีความพอใจ ใจไม่ท่องเที่ยวไปไหน

สำหรับกิจกรรมที่จะช่วยให้การนึกนิมิตเป็นไปได้นั้น คือ

1. เปิดเพลงเบา ๆ ที่ท่วงทำนองบอกเล่าถึงธรรมชาติ แล้วทำความรู้สึกเหมือนเราเข้าไปนั่งอยู่ในธรรมชาตินั้นๆ เมื่ออารมณ์สบายนุ่มนวลดีแล้ว จึงลองนึกถึงนิมิตที่เราชอบ เช่น น้ำค้างใส ๆ (แทนดวงแก้ว) ดอกไม้สวย ๆ สักดอกลอยอยู่กลางกาย ดอกไม้หายไปก็ไม่เป็นไร นึกใหม่ น้ำค้างหายไปก็ไม่เป็นไร นึกใหม่

สักพักจะเริ่มอยากที่จะนึกถึงจุดใส ๆ หรือดวงแก้วใส ๆ ก็ให้ลองนึกดู ได้ก็ดีไม่ได้ก็ดี ดวงแก้วจะไปจะมาไม่เป็นไร นึกกี่ดวงก็ได้เพราะนึกได้ตามใจเรา และคงไม่มีอะไรดีเท่ากับการนึกบ่อย ๆ ในอิริยาบถใดก็ได้ที่อยากนึก ที่ดีที่สุด คือ เดินพลางนึกพลาง หรือออกกำลังช้า ๆ ไปพลาง นึกไปพลาง

2. หาภาพดวงแก้วหรือองค์พระในมุมมองจากที่สูง หรือมุมต่าง ๆ มาไว้รอบ ๆ ตัวเพื่อจะได้มองจนเกิดความเคยชิน

3. ฟัง ชม หรือพูดถึงเรื่องราวที่เกี่ยวเนื่องกับองค์พระและดวงแก้ว


คำสั่ง : ให้บันทึกผลการทำกิจกรรม เป็นเวลา 1 สัปดาห์ แล้วเลือกลงช่องความถี่ที่ได้ทำกิจกรรมนั้นๆ

Complete and Continue