3.ธรรมานุภาพ
ธรรมานุภาพ
สัมมาปฏิบัติวิชชาธรรมกายสัมมาสมาธิ
การปฏิบัติสมาธิมิได้มีแต่เพียงในพระพุทธศาสนาเท่านั้น ยังมีในลัทธิศาสนาอื่นๆ อีกด้วย สมาธิที่จัดเป็นสัมมาสมาธิ ผู้ปฏิบัติต้องน้อมนำใจให้กลับเข้ามาตั้งมั่นอยู่ภายในกาย พระผู้มีพระภาคเจ้าผู้เป็นสารถีฝึกบุรุษ เป็นศาสดาของมนุษย์และเทวดา จึงตรัสวิธีฝึกให้ผู้ปฏิบัติสมาธิคุ้นเคยกับการน้อมนำใจกลับมาตั้งมั่นไว้ภายในกายว่า"มหาบพิตร ภิกษุในธรรมวินัยนี้ ย่อมทำความรู้สึกตัว ในการก้าว ในการถอย ในการแล ในการเหลียว ในการคู้เข้า ในการเหยียดออก ในการทรงสังฆาฏิ บาตร และจีวร ในการฉัน ในการดื่ม ในการเคี้ยวในการลิ้ม ในการถ่ายอุจจาระปัสาวะ ย่อมทำความรู้สึกตัว ในการเดิน การยืน การนั่ง การหลับ การตื่นการพูด การนิ่ง มหาบพิตร ภิกษุชื่อว่าเป็นผู้ประกอบด้วย ติสัมปชัญญะ ด้วยประการดังกล่าวมานี้แล"เมื่อหลวงปู่ท่านปฏิบัติสมาธิภาวนาจนได้บรรลุวิชชาธรรมกายแล้ว ท่านชี้ชัดลงไปว่าสัมมาสมาธินั้นผู้ปฏิบัติต้องน้อมนำใจมาตั้งมั่นไว้ภายในกาย ณ ศูนย์กลางกายฐานที่ 7 เหนือสะดือขึ้นมา 2 นิ้วมือ ศูนย์กลางกายนี้เป็นประตูสู่มรรคผลนิพพาน เมื่อน้อมนำใจมาไว้ ณ จุดนี้ ก็ถูกทางสายกลาง หรือมัชฌิมาปฏิปทาอริยมรรคมีองค์ 8 อันเป็นเครื่องกำจัดกิเล และกระทำพระนิพพานให้แจ้งก็บริบูรณ์ ดังที่พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสไว้ในมหาปรินิพพานสูตรว่า"ดูก่อนสุภัททะ อริยมรรคอันประกอบด้วยองค์ 8 หาไม่ได้ในธรรมวินัยใด แม้ มณะที่ 1 ที่ 2ที่ 3 ที่ 4 ก็หาไม่ได้ในธรรมวินัยนั้นสุภัททะ อริยมรรคอันประกอบด้วยองค์ 8 หาได้ในธรรมวินัยใด แม้ มณะที่ 1 ที่ 2 ที่ 3 ที่ 4หาได้ในธรรมวินัยนั้นสุภัททะ อริยมรรคอันประกอบด้วยองค์ 8 หาได้ในธรรมวินัยนี้ มณะที่ 1 ที่ 2 ที่ 3 ที่ 4ก็มีอยู่ในธรรมวินัยนี้ ลัทธิอื่นๆ ว่างจาก มณผู้รู้สุภัททะ ก็ภิกษุเหล่านี้ พึงอยู่โดยชอบ โลกจะไม่พึงว่างจากพระอรหันต์ทั้งหลาย"
วิชชาธรรมกายเป็นวิชชาของพระสัมมาสัมพุทธเจ้า เป็นการบำเพ็ญเพียร เจริญภาวนาด้วยสัมมาสมาธิ เป็นสัมมาปฏิบัติ มีจุดมุ่งหมายหลักสำคัญ คือ การกำจัดกิเลสอาสวะให้สิ้นไป เพื่อกระทำพระนิพพานให้แจ้ง การตรัสรู้ธรรมของพระสัมมาสัมพุทธเจ้าหรือการบรรลุธรรมของพระสงฆ์สาวกหากมิได้ดำเนินตามหลักสัมมาสมาธิแล้วก็มิอาจจะเป็นไปได้สัมมา อะระหัง"สัมมา อะระหัง" เป็นคำที่หลวงปู่ท่านใช้สำหรับบริกรรมภาวนาในการบำเพ็ญสมณธรรมผู้ปฏิบัติกัมมัฏฐานตามนัยของหลวงปู่ อาศัยคำภาวนานี้บริกรรม ประกอบกับน้อมนำใจมาไว้ที่ศูนย์กลางกายฐานที่ 7 เมื่อใจหยุดถูกส่วนเข้าก็จะเข้าถึงธรรมกายได้คำว่า "สัมมา อะระหัง" นี้ เป็นบทพระพุทธคุณที่เราใช้ท่องกันอยู่ประจำ "สัมมา" เป็นศัพท์ที่มีความหมายสูง แปลว่า ชอบ ในพระพุทธคุณ 9 บท ท่านเอาศัพท์นี้เข้าคู่กับสัมพุทโธ เป็นสัมมาสัมพุทโธแปลว่า ผู้ตรัสรู้เองโดยชอบ นอกจากใช้ในบทพระพุทธคุณแล้ว ยังมีใช้ในองค์อริยมรรค 8 ด้วยโดยมีคำว่าสัมมา ควบองค์มรรคอยู่ทุกข้อ เป็นสัมมาทิฏฐิสัมมาสังกัปปะ เป็นต้นส่วนศัพท์คำว่า"อะระหัง" เป็นพระพุทธคุณบทต้น แปลว่า พระพุทธองค์ทรงเป็นพระอรหันต์เมื่อเข้าคู่กันเป็น "สัมมา อะระหัง" ก็แปลว่า พระพุทธองค์ทรงเป็นพระอรหันต์โดยชอบ คือถูกต้อง ไม่ผิด โดยนัยว่าบทบริกรรมสัมมา อะระหัง ของหลวงปู่วัดปากน้ำ จึงมีความหมายสูง และอยู่ในขอบข่ายของพุทธานุสติโดยแท้พระโบราณาจารย์ทั้งหลายกล่าวว่าสัมมา อะระหัง เป็นพุทธานุสติ มีประโยชน์ในการเจริญกัมมัฏฐานมาก ดังที่ท่านได้อธิบายว่า "พุทธานุสติ เป็นธรรมประการต้นที่หลวงปู่วัดปากน้ำสนใจปฏิบัติและ อนสานุศิษย์เป็นพิเศษ ทุกครั้งที่ปฏิบัติธรรมจะต้องตั้งใจระลึกถึงพระพุทธเจ้าเป็นอารมณ์ เพราะพุทธานุสตินั้นเป็นธรรมให้จิตตื่น ให้จิต ว่าง ให้จิตมีกำลัง ให้จิตมีความกล้าที่จะปฏิบัติธรรม สืบต่อไปเป็นวิสัยอันดีของพุทธศา นิกชนทั่วไป ธรรมดาบุคคลเราถ้าไม่มีอะไรยึดแล้ว จิตย่อมคอยแต่จะฟุ้งซ่าน จะทำให้ สงบอยู่ไม่ได้ จิตจึงต้องมีพุทธคุณยึด เมื่อมีพุทธคุณยึดแล้ว จะหลับก็ตามจะตื่นก็ตาม จิตย่อมอยู่ในการรักษาทั้งนั้น เพราะพุทธานุภาพย่อมรักษาคนที่มี สติ ระลึกถึงพระพุทธเจ้าเป็นอารมณ์อยู่เป็นนิตย์ ดังพุทธภาษิตว่า
"สุปฺปพุทฺธ ปพุชฺฌนฺติ สทา โคตมสาวกา
เย ทิวา จ รตฺโต จ นิจฺจ พุทฺธคตา สติ
สติที่ไปในพระพุทธเจ้า มีแด่พระสาวกของพระโคดมเหล่าใด
ทั้งวันทั้งคืน พระสาวกของพระโคดมเหล่านั้น จะหลับก็ตาม
จะตื่นก็ตาม ชื่อว่าตื่น ตื่นแล้วด้วยดี"
ความตอนหนึ่งจากหนังสือ "หลวงพ่อ ดวัดปากน้ำ" มีว่า "อาศัยเหตุนี้ พุทธานุสติจึงเป็นคุณธรรมให้เกิดความสุขใจแก่ผู้ปฏิบัติธรรมเป็นประการแรก ดังนั้นหลวงปู่วัดปากน้ำจึง นใจนัก เป็นที่รู้กันทั่วไปว่า ท่านเตือนพุทธบริษัทเสมอๆ ว่า อย่าให้เป็นคนว่าง ควรมีพระพุทธคุณเป็นอารมณ์ แม้จะยังไม่บรรลุอริยผลเบื้องสูงก็ตาม แต่รับรองว่าตายแล้วก็ไม่ตกนรก ไป วรรค์แน่" ดังพุทธภาษิตว่า
"เยเกจิ พุทฺธ รณ คตาเส
น เต คมิสฺสนฺติ อปายภูมึ
ปหาย มานุสฺส เทห
เทวกาย ปริปูเรสฺสนฺติ
ชนเหล่าใดถึงซึ่งพระพุทธเจ้า เป็นสรณะ
ชนเหล่านั้นแลจำไม่ไปสู่อบาย เมื่อเขาละ
ร่างกายนี้แล้ว ก็จะไปเพียบพร้อมอยู่ในเทว สมาคม"
ดังนั้น พุทธานุสติจึงเป็นธรรมอารักขากัมมัฏฐาน รักษาใจบุคคลให้ควรแก่งานยิ่งนัก ดังที่หลวงปู่ได้เตือนศิษยานุศิษย์ ให้มีพุทธานุสติเป็นอารมณ์ จึงเป็นที่น่านิยมน่าระลึกไว้ประจำตนทั่วไปผู้ปฏิบัติตามบทของสัมมา อะระหัง ย่อมจะได้เห็นแจ้งในสังขตธรรมและอสังขตธรรม ทำลายการเวียนว่ายตายเกิดได้ ทำลายมานะได้ มีความอุตสาหะเต็มที่ มีความยินดีในธรรม คือ พระนิพพาน และฆ่าบาปธรรมได้สำหรับบท "อะระหัง" โดยเฉพาะนั้น คน สมัยก่อนหรือคน สมัยนี้ที่พอรู้เรื่อง นิยมนำไปใช้กับคนไข้หนักก่อนสิ้นลมหายใจ คือ กล่าวนำและเตือนเขาผู้กำลังจะสิ้นใจ ให้ท่องหรือนึกถึง"พระอรหัง"โดยเชื่อกันว่า ถ้าคนไข้มี ติน้อมใจตามคำบอกว่า อะระหัง เพียงใจได้สัมผัสเท่านั้น ก็จะไปเกิดในที่ดีไปสู่สุคติโลกสวรรค์ จึงนิยมแนะนำกันต่อๆ มาจนทุกวันนี้ในหนังสือวิสุทธิมรรคภาค 1 อันเป็นคัมภีร์สำคัญของพระพุทธศาสนา ท่านให้คำจำกัดความบท อะระหัง ไว้ชัดแจ้ง ดังบทพระบาลีว่า
"อารกตฺตา หตตฺตา จ กิเลสาริน โสมุนิ
หตสงฺสารกฺกาโร ปจฺจยาทีนมารโห
น รโห กโรติ ปาปานิ อรห เตน วุจฺจติ
"พระมุนีพุทธเจ้าพระองค์น้ัน ทรงนามว่า อรหัง เพราะเป็นผู้ไกลจากข้าศึก
และกำจัดข้าศึกคือ กิเลสได้ 1 เพราะเป็นผู้ทำลายสังสารจักรได้ 1
เพราะเป็นผู้ควรแก่สักการะ มีปัจจัย 4 เป็นต้น 1 เพราะเป็นผู้ไม่ทำความชั่วในที่ลับ "
คุณค่าของบท "สัมมา อะระหัง" มีความหมายสูงมาก เป็นบทแสดงพระคุณอันสูงสุดของพระพุทธเจ้าโดยตรง การที่พระปรมาจารย์ทรงกรรมฐาน นำพุทธคุณบทนี้ไปใช้ในการบริกรรมฝึกจิต และฝึก สอนศิษย์ของตนนั้น นับว่าท่านเข้าใจ และมีจิตมุ่งสูงส่ง เพราะตลอดเวลาที่บริกรรม "สัมมา อะระหัง"ท่านจะต้องพยายามเข้าถึงบทบริกรรมนี้ให้ได้ กล่าวคือ มีจิตมุ่งทำลายกิเลสประพฤติตนเป็นนาบุญบริสุทธิ์และเว้นขาดจากความชั่วทั้งในที่ลับและที่แจ้ง นับเป็นสุปฏิบัติโดยแท้
หยุดเป็นตัวสำเร็จ
หลวงปู่ท่านสอนการปฏิบัติธรรม เพื่อให้เข้าถึงพระธรรมกาย โดยให้น้อมนำใจมาหยุดไว้ที่ศูนย์กลางกายฐานที่ 7 ตลอดเวลา หมั่นตรึกระลึกนึกถึงศูนย์กลางกายฐานที่ 7 ประหนึ่งว่า ขาดการน้อมนึกอย่างนั้นไม่ได้ดังลมหายใจ กลวิธีที่ท่านใช้เป็นกุศโลบายให้ใจเกาะเกี่ยวอยู่กับศูนย์กลางกาย ก็คือให้นึกถึงบริกรรมนิมิตเป็นองค์พระแก้วใสหรือเป็นดวงแก้วกลมรอบตัว ใสบริสุทธิ์ มีบางท่านติเตียนท่านว่า สอนให้ติดรูป สอนให้ติดนิมิต เมื่อหลวงปู่ทราบท่านบอกว่า"เมื่อไม่ติดทำไมจึงจะรู้ว่าหลุด เปรียบเสมือนกับการขึ้นบันได ถ้าเราเหยียบบันไดไม่มั่นแล้ว เราจะก้าวต่อไปให้มั่นได้อย่างไร ถ้าเราจะเหยียบบันไดขั้นที่ 2 เหยียบบันไดขั้นที่ 1 ให้มั่นเสียก่อน แล้วเราจึงก้าวต่อไปถึงขั้นที่ 2 เมื่อจะก้าวต่อไปที่ขั้นที่ 3 ก็ต้องเหยียบขั้นที่ 2 ให้มั่น และเราก็ไม่ได้ติดอยู่ที่ขั้นเดียว"หลวงปู่ท่านอธิบายถึงความหมายของคำว่า หยุด ไว้ว่า "หยุดนั่นแหละ เป็นตัว สมถะเป็นตัวสำเร็จ"คือสำเร็จหมดทั้งทางโลกและทางธรรม "โลกที่จะได้รับความสุขได้ ใจก็ต้องหยุดตามส่วนของโลกธรรมที่จะได้รับความสุข ใจต้องหยุดตามส่วนของธรรม หยุดนั่นเองเป็นตัวสำเร็จ หยุดนั่นเองเป็นตัวสำคัญ หยุดคำเดียวเท่านั้นถูกทางสมถะตั้งแต่ต้นจนเป็นพระอรหันต์ เป็นตัวศาสนาแท้ๆถูกโอวาทของพระบรมศาสดา ถ้าไม่หยุด จะปฏิบัติศาสนาสักกี่ปีก็ช่าง 4050 ปีก็ช่าง แต่ถ้าทำใจให้หยุดไม่ได้ เป็นไม่ถูกร่องรอยพระพุทธศาสนา"หลวงปู่ท่านยกตัวอย่างเรื่ององคุลิมาล ซึ่งพระพุทธองค์ได้ทรงแก้ไข แ ดงธรรมะจนองคุลิมาลสำเร็จเป็นพระอรหันต์ด้วยคำว่า หยุด คำเดียว เมื่อทำใจให้หยุดได้แล้ว ก็ต้องหยุดในหยุดๆ ไม่มีถอยหลังกลับ หยุดในหยุดๆ ๆ อยู่นั่นเอง ใจที่หยุดนั้นต้องถูกกลาง ถ้าไม่ถูกกลางก็ใช้ไม่ได้พอใจหยุดนิ่ง สนิทอยู่ที่ศูนย์กลางกายฐานที่ 7 แล้ว ก็เห็นเป็นดวงใสเท่าดวงอาทิตย์ดวงจันทร์ผุดขึ้นที่ใจหยุดนั้น เรียกว่า ตกศูนย์ พอเห็นศูนย์ใจก็หยุดอยู่กลางศูนย์นั้น กลางดวงในเท่าดวงอาทิตย์ดวงจันทร์นั้น ดวงนี้เรียกว่า ดวงธัมมานุปัสนา สติปัฏฐาน อีกนัยหนึ่งเรียกว่า ดวงปฐมมรรค หรือของพระอรหันต์ทั้งหมดในสากลโลก ท่านจะเข้านิพพานต้องไปทางนี้ทางเดียว ไม่มีทางแตกแยกจากกันไปแนวเดียวกันนี้หมด เพียงแต่ว่าการไปนั้น บางท่านเร็ว บางท่านช้า แล้วแต่วา นานิสัยของบางคนจะสั่งสมอบรมไว้