4.3 ปฏิปทาและผู้สืบทอดวิชาธรรมกาย

ปฏิปทา

เผยแผ่วิชชาธรรมกายไปทั่วโลก

      หลวงปู่ท่านทุ่มเทเทศนาสั่งสอนประชาชน จนบรรลุธรรมตามท่านไปก็มาก ทั้งยังได้ส่งพระภิกษุและอุบาสิกาที่บรรลุวิชชาธรรมกาย มีความเชี่ยวชาญในการเทศนาสั่งสอนวิชชาธรรมกาย ในระดับที่เป็นครูสอนได้แล้ว ไปเผยแผ่ทั่วประเทศ และยังขยายต่อไปยังต่างประเทศอีกด้วย เพราะท่านปรารถนาที่จะเผยแผ่พระพุทธศาสนาไปทั่วโลก ให้ชาวโลกได้เข้าถึงพระธรรมกายกันอย่างกว้างขวาง เมื่อทุกคนได้ประพฤติปฏิบัติธรรมสันติสุขภายในใจที่บังเกิดขึ้น ก็จะส่งผลให้เกิดสันติภาพแก่โลกได้อย่างแท้จริงงานเผยแผ่พระพุทธศาสนาในต่างประเทศเริ่มขึ้น เมื่อหลวงปู่ส่งท่านฐิตเวโทภิกขุไปเผยแผ่พระพุทธศาสนาวิชชาธรรมกายในประเทศอังกฤษ จนกระทั่งมีชาวอังกฤษเลื่อมใสศรัทธาเป็นจำนวนมากหนึ่งในนั้น คือ นักปรัชญาผู้มีชื่อเสียงของโลก ศาสตราจารย์วิลเลียม ออร์กัสต์ เปอร์เฟิสต์แห่งมหาวิทยาลัยในกรุงลอนดอน ซึ่งในปี พ.ศ. 2497 ท่านได้เดินทางข้ามทวีปติดตามพระฐิตเวโท มาที่วัดปากน้ำเพื่อขออุปสมบทและศึกษาวิชชาธรรมกาย หลวงปู่จึงได้ สอนให้ปฏิบัติธรรมจนเป็น และประกอบพิธีอุปสมบทให้ ณ อุโบสถวัดปากน้ำ เมื่อวันวิสาขบูชา พ.ศ. 2497 และให้ฉายาว่า กปิลวัฑโฒภิกขุ ซึ่งนับเป็นพระภิกษุชาวต่างชาติรูปแรกของประเทศไทยเมื่ออุปสมบทเป็นพระภิกษุถูกต้องตามพระธรรมวินัยแล้ว ท่านกปิลวัฑโฒภิกขุตั้งใจปฏิบัติธรรมต่อจนเข้าถึงพระธรรมกาย หลวงปู่วัดปากน้ำจึงให้ท่านใช้วิชชาธรรมกายไปตามโยมพ่อซึ่งถึง

แก่กรรมแล้ว ให้มารับส่วนบุญที่ลูกชายได้บวช แต่ก็ไม่พบโยมพ่อทั้งบน สวรรค์และในนรก หลวงปู่จึงนั่งเข้าที่คุมไปด้วย คราวนี้ตรวจอย่างละเอียดก็ยังไม่พบ หลวงปู่จึงสั่งให้ไปดูบนพื้นมนุษย์ ปรากฏว่าโยมพ่อได้มาเกิดเป็นลูกสาวของลูกชายตนเองแล้ว การใช้วิชชาธรรมกายตามหาพ่อในครั้งนี้ ทำให้ท่านกปิลวัฑโฒภิกขุซาบซึ้งในพระคุณของหลวงปู่เป็นอย่างมาก ที่ได้เมตตาแนะนำสั่งสอนการปฏิบัติธรรมให้อย่างที่ไม่เคยเรียนรู้จากใครมาก่อนที่วัดปากน้ำ ท่านกปิลวัฑโฒภิกขุเคยแสดงปาฐกถาในที่ประชุมของวัด สรุปได้ว่า การมาวัดปากน้ำครั้งนี้ ได้รับความเมตตาปรานีจากหลวงปู่เป็นอย่างมาก จุดประสงค์ที่มานี้ก็เพื่อศึกษาการทำสมาธิ สมถะและวิปัสนากัมมัฏฐาน ซึ่งท่านได้ศึกษาเชิงทฤษฎีมาแล้ว จึงตั้งใจจะมาศึกษาในเชิงปฏิบัติต่อไป จนกว่าจะบรรลุมรรคผล นิพพาน ท่านมีความมั่นใจที่มีหลวงปู่วัดปากน้ำเป็นพระอุปัชฌาย์ และเชื่อในวิชชาธรรมกาย เพราะได้รู้ได้เห็นมาแล้ว ท่านตั้งใจจะบวชตลอดชีวิต และจะพยายามสร้างวัดที่ประเทศอังกฤษให้ได้เมื่อท่านกปิลวัฑโฒภิกขุปฏิบัติธรรมจนเข้าถึงพระธรรมกาย และสามารถถ่ายทอดหลักธรรมคำ สอนของพระสัมมาสัมพุทธเจ้าได้แล้ว หลวงปู่จึงส่งกลับไปเผยแผ่พระพุทธศาสนาที่ประเทศอังกฤษในวันที่ 8 พฤศจิกายน พ.ศ. 2497 สมัยนั้นมีชาวอังกฤษมาศึกษา สมถวิปัสนากับพระอาจารย์กปิลวัฑโฒถึง 23 คน ซึ่งในจำนวนนี้มีอยู่ 4 คน ที่ผลการปฏิบัติธรรมดีมาก และตั้งใจจะบรรพชาอุปสมบทท่านกปิลวัฑโฒภิกขุจึงขอความเมตตาจากหลวงปู่ในการนำศิษย์ 4 คน มาทำพิธีอุปสมบทที่วัดปากน้ำซึ่งหลวงปู่ก็อนุญาตด้วยความปลื้มปีติที่พระพุทธศาสนาจะแผ่ไปปักธงชัยในยุโรปแล้ว

  • 1 แฉล้ม อุศุภรัตน์, ขุมทรัพย์ของบัณฑิต (ทรัพย์นี้มีใกล้ ใครปัญญาไว หาได้บ่นาน) และ ทาน ศีล ภาวนา การบำเพ็ญ
  • กุศลของคุณธีระ อุศุภรัตน์, (กรุงเทพมหานคร ไทยประสานการพิมพ์, 2529), หน้า 169
  • 2 หลวงปู่มีดำริที่จะสร้างวัดไทยในประเทศอังกฤษ เพื่อประดิษฐานพระพุทธศาสนาให้มั่นคงถาวร ท่านได้นำโครงการนี้

ไปปรึกษากับ ฯพณฯ จอมพล ป. พิบูล สงคราม นายกรัฐมนตรีใน สมัยนั้น แต่หลวงปู่ท่านอาพาธเสียก่อน โครงการจึงต้องระงับไปอย่างไรก็ตาม ท่านกปิลวัฑโฒภิกขุก็สามารถไปจัดตั้งศูนย์ปฏิบัติธรรม เรียกว่า "สำนักพุทธวิหารแมพ์ เตต" ได้สำเร็จ ซึ่งนับเป็นก้าวหนึ่งที่สำคัญของการหยั่งรากพระพุทธศาสนาวิชชาธรรมกายในต่างแดน 

      วันที่ 15 ธันวาคม พ.ศ. 2498 ท่านกปิลวัฑโฒภิกขุจึงเดินทางกลับมาวัดปากน้ำอีกครั้ง พร้อมกับนำชาวอังกฤษซึ่งได้บรรพชาเป็นสามเณรแล้ว 3 รูป มาศึกษาวิชชาธรรมกาย และให้หลวงปู่ทำพิธีอุปสมบทให้ กำหนดการอุปสมบทมีขึ้นในวันมาฆบูชา วันที่ 27 มกราคม พ.ศ. 2499 งานบวชในครั้งนี้จัดขึ้นอย่างยิ่งใหญ่เป็นประวัติการณ์ เพื่อให้พุทธศาสนิกชนอนุโมทนาสาธุการกันทั่วประเทศสามเณรทั้งสามรูปที่เดินทางมาอุปสมบท มีรายนามดังนี้

  • 1.สามเณรโรเบิร์ต แอลนิสัน ชาวอังกฤษ อายุ 24 ปี จบอักษรศาสตรบัณฑิต อาชีพเดิมเป็น นายหน้าค้าขาย เมื่อบวชแล้วได้รับฉายาว่าสัทธาวัฑโฒ
  • 2.สามเณรยอชเปลค ชาวจาไมก้า อายุ 33 ปี จบเศรษฐศา ตรมหาบัณฑิต อาชีพเดิมเป็น ข้าราชการในประเทศอังกฤษ เมื่อบวชแล้วได้รับฉายาว่า วิชชาวัฑโฒ
  • 3.สามเณรปีเตอร์ มอร์แกน ชาวอังกฤษ อายุ 30 ปี อาชีพเดิมเป็นวิศวกรไฟฟ้า เมื่อบวชแล้ว ได้รับฉายาว่า ปัญฐาวัฑโฒ

      ทั้ง 3 ท่านนี้ ต่างก็เป็นผู้มีการศึกษา และเคยนับถือศาสนาอื่นมาก่อน การเปลี่ยนมานับถือศาสนาพุทธจนถึงกับ ละชีวิตออกบวช จึงเป็นเรื่องที่น่าอนุโมทนา และสร้างความปีติให้กับคนไทยทั้งหลายเพราะพระภิกษุชาวต่างชาติทั้ง 3 รูป จะได้เป็นกำลังสำคัญในการนำธรรมะของพระบรมศาสดากลับไปเผยแผ่ยังมาตุภูมิของท่านต่อไปนอกจากนี้ยังมีสุภาพ สตรีชาวอังกฤษ 3 คน ซึ่งเคยปฏิบัติธรรมกับพระอาจารย์กปิลวัฑโฒแล้วรู้สึกเลื่อมใสศรัทธาในวิชชาธรรมกาย จึงติดต่อขอเข้ามาบวชเป็นอุบาสิกา ซึ่งหลวงปู่ก็อนุญาตจึงเดินทางมาอยู่วัดปากน้ำ นุ่งขาวห่มขาว รักษาศีล และเจริญภาวนา ในลักษณะของอุบาสิกาหลักธรรมคำ อนของหลวงปู่ นอกจากจะเป็นที่ สนใจของชาวตะวันตกแล้ว ยังมีชาวเอเชียตะวันออก คือ ชาวญี่ปุ่น เดินทางมาเพื่อศึกษาการปฏิบัติธรรมกับหลวงปู่ด้วย โดยในวันที่ 10 มิถุนายน พ.ศ.2497 ได้มีคณะ มณทูตจากญี่ปุ่น ภายใต้การนำของท่านสังฆราชตาคาชินา เดินทางมาเยี่ยมวัดปากน้ำคณะสงฆ์จากญี่ปุ่น สนใจศึกษาเรื่องฐานที่ตั้งของใจ โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ท่านสังฆราชถึงกับกล่าวชื่นชม และอาสาจะนำวิธีการวางใจไว้ที่ศูนย์กลางกายไปเผยแผ่ในประเทศญี่ปุ่น นอกจากนี้ยังมีพระผู้ติดตามในคณะชื่อท่านกาชิยูอิไซสามารถปฏิบัติธรรมจนได้รับผลการปฏิบัติเป็นที่น่าพอใจ ถึงกับกล่าวทั้งน้ำตาแห่งความปีติหลังจากฝึกสมาธิว่า "ตั้งแต่เกิดมาไม่เคยพบความสุขเช่นนี้เลย"ต่อมาในปี พ.ศ. 2500 มีชาวญี่ปุ่นชื่อ นายทาโก ชิมารุจิ เป็นนักบวชนิกายนิชิเร็น สนใจการ ปฏิบัติธรรม และต้องการอุปสมบทพร้อมทั้งจำพรรษาอยู่ที่วัดปากน้ำ แต่ในขณะนั้นหลวงปู่ท่านอาพาธสมเด็จป๋าวัดโพธิ์ ครั้งยังดำรง สมณศักดิ์ที่พระธรรมวโรดม จึงเป็นพระอุปัชฌาย์แทน พร้อมทั้งให้ฉายาว่าธัมมฉันโท ภิกขุ ท่านจำพรรษาอยู่ที่วัดปากน้ำประมาณ 6 เดือน เมื่อปฏิบัติธรรมจนบรรลุวิชชาธรรมกายจึงกลับไปยังประเทศญี่ปุ่น เพื่อเผยแผ่พระพุทธศาสนาต่อไป

 ไปถึงที่สุดแห่งธรรม

      ในหนทางการสร้างบารมีของพระบรมโพธิสัตว์ทั้งหลาย ล้วนต้องผจญกับอุปสรรคนานัปการในทางพระพุทธศาสนาเรียกอุปสรรคเหล่านั้นว่า "มาร" เหล่าพระโพธิสัตว์ต้องบำเพ็ญบารมีชนิดเอาชีวิตเป็นเดิมพัน จนกระทั่งบารมีเต็มเปียม จึงจะหลุดพ้นจากการบังคับบัญชาของพญามาร เข้าสู่พระนิพพานได้แม้กระนั้น อำนาจของมารก็ยังหาหมดสิ้นไปไม่ มวลมนุษยชาติทั้งหลายล้วนยังอยู่ในบังคับบัญชาของมารทั้งสิ้น โดยที่ไม่ได้รู้ตัวเลย หลวงปู่วัดปากน้ำได้กล่าวไว้ว่า"เวลานี้พญามารบังคับใช้ อยู่ ให้เป็นบ่าวเป็นทาส เขา เขาจะใช้ทำอะไรทำได้ ให้ด่า ให้ตี ให้ชก ให้ฆ่าให้ฟันกันได้ มารบังคับ มันบังคับได้อย่างนี้นะ ให้เป็นบ่าวเป็นทาส เขา ให้เลวทรามต่ำช้า ให้เป็นคนจนอนาถา ติดขัดทุกสิ่งทุกอย่าง เครื่องกินเครื่องใช้บกพร่อง เครื่องกินเครื่องใช้ไม้ อยู่ไม่มีมารเขาทำได้บังคับได้"ท่านยังบอกไว้อีกว่า " ภาพความเป็นเอง (ความแก่ความตาย) ปรุงแต่ง หรือว่าใครปรุงแต่งอยู่ที่ไหน เรื่องนี้หมดทั้งประเทศ หมดทั้งชมพูทวีป หมดทั้งแสนโกฏิจักรวาล หมดทั้งอนันตจักรวาลตลอดนิพพาน ภพสาม โลกันต์ มากน้อยเท่าใดนั้น ไม่รู้กันทั้งนั้นว่าเป็นเพราะเหตุอะไร แต่วัดปากน้ำมีคนรู้ขึ้นแล้ว เป็นดังนี้เพราะอะไรที่ตั้งวัยให้แก่ยับเยินไปเช่นนี้ เป็นเองหรือใครทำอยู่ที่ไหน รู้ทีเดียวว่าใครทำอยู่ที่ไหนรู้ว่าไม่ใช่ใคร จับตัวได้ คือ พญามารนั่นเองเป็นคนทำให้แก่ ให้เจ็บ ให้ตาย เกิดแก่เจ็บตายอย่างยับเยิน เกิดก็อย่าง ยับเยิน เดือดร้อน พ่อไม่ตาย บางทีแม่ตาย บางทีลูกก็ตาย แม่ก็ตาย พ่อก็ยังจะตายตามอีก โดดน้ำตายเสียอกเสียใจ นี่พญามารทำทั้งนั้นสำหรับประหัตประหารฝ่ายพระ

ถ้าว่ามนุษย์ผู้ใดเป็นฝ่ายพระละก็ มารข่มเหงอยู่อย่างนั้นแหละไม่ขาดสาย ไม่เช่นนั้นก็ด้วยวิธีใดวิธีหนึ่ง บางทีหมั่นไส้นัก ทำเก่งกาจ อวดดิบอวดดี ให้ฆ่ากันตายเสีย ให้กินยาตายเสีย ให้โดดน้ำตายเสีย ให้ผูกคอตายเสีย นี่ใครทำ พญามารทั้งนั้น ไม่ใช่ใครไม่มีใครรู้ แสนโกฏิจักรวาล อนันตจักรวาล นิพพานถอดกาย มีเท่าไรไม่มีใครรู้ ไม่รู้เรื่องทีเดียว ในเรื่องนี้ว่าพญามารเขาคอยบับคั้นอยู่ ให้เกิด แก่ เจ็บ ตาย... ที่เดือดร้อนยับเยินเช่นนี้เพราะพญามารเขาส่งฤทธิ์ส่งเดชส่งอำนาจส่งวิชชาที่ศักดิ์สิทธิ์ มาบังคับบัญชา บังคับให้เป็นไป"

       หลวงปู่วัดปากน้ำท่านมีเป้าหมายจะไปให้ถึงที่สุดแห่งธรรม จะเอาชนะการบังคับบัญชาของมารให้ได้มิใช่เพียงแค่หลุดพ้นการบังคับบัญชาของมารเท่านั้น แต่ยังปรารถนาที่จะกำจัดมารทั้ง 5 ฝูงนั้นให้สิ้นเชื้อไม่เหลือเศษ ไม่อาจมีอิทธิพลคุกคาม รรพสัตว์ได้อีกต่อไป ท่านกล่าวว่า"โสดา สกทาคา อนาคา อรหัต ทำมาได้ก็จริง แต่ว่าไม่ติด ไปติดอยู่แค่โคตรภูเท่านั้นเองที่จะติดโ ดา กทาคา อนาคา อรหัต ไม่ติด หลุดเสีย เพราะเหตุอะไรจึงหลุดไป มารเขารองรากเสียเขาเอาละเอียดมารองรากเสีย ไม่ติด กำลังแก้อยู่ ผู้เทศน์นี้แหละเป็นตัวแก้ละ กำลังแก้ รวมพวกแก้อยู่ทีเดียว แก้ไขอ้ายละเอียดเหล่านี้ให้หมดให้ได้ หมดได้เวลาใดแล้วก็ โสดาจะติด สกทาคาจะติดอนาคาจะติด อรหัตจะติด แล้วจะเหาะเหินเดินอากาศกันได้ทีเดียว..."แม้หลวงปู่ท่านรู้ว่าความแก่ ความเจ็บ ความตาย เป็นสิ่งที่มีอยู่ แต่ท่านหาญกล้าที่จะฝ่าฟันไปยังจุดที่จะเอาชนะการครอบงำบังคับบัญชาของมาร เข้าถึงความเป็นอิสระในชีวิตของตนเอง ปกครองตนเองไม่ให้แก่ ไม่ให้เจ็บ ไม่ให้ตายได้ ปฏิปทาอันยิ่งใหญ่ของท่าน จึงยากนักที่จะมีใครอาจหาญคิดปรารถนาเช่นนี้ได้


ผู้สืบทอดปฏิปทา

       ก่อนที่หลวงปู่จะมรณภาพ ท่านให้โอวาทกับศิษย์ผู้ใกล้ชิดหลายคนว่า ให้เผยแผ่วิชชาธรรมกายต่อไป โดยไม่ย่อท้อจนกว่าจะสิ้นชีวิต ไม่ให้ไปไหน ให้อยู่ที่วัดปากน้ำ รอผู้ที่จะมา สืบทอดวิชชาธรรมกายในวันข้างหน้าต่อไป ดังนั้นหลังจากที่หลวงปู่วัดปากน้ำมรณภาพแล้ว ลูกศิษย์ผู้ใกล้ชิดหลายคนพยายามรักษาปฏิปทาของท่านไว้อย่างมั่นคง ได้ปฏิบัติตามคำสั่งของท่านซึ่งเป็นมรดกสำคัญและล้ำค่าชิ้นสุดท้ายในจำนวนนั้นมีอุบาสิกาจันทร์ ขนนกยูง และอุบาสิกาทองสุกสำแดงปัน ผู้ที่ได้รับการถ่ายทอดวิชชาธรรมกายมาจากหลวงปู่วัดปากน้ำอย่างเข้มข้นทั้ง สองท่านได้ปฏิบัติตามคำสั่งของหลวงปู่วัดปากน้ำตลอดมา คือ เป็นครู สอนธรรมะ เผยแผ่วิชชาธรรมกายอยู่ที่วัดปากน้ำเรื่อยมา ภายหลังอุบาสิกาทองสุกได้ละจากโลกไป อุบาสิกาจันทร์ขนนกยูง หรือที่เหล่าลูกศิษย์ลูกหามักจะเรียกท่านว่า "คุณยาย" ได้ตระหนักและเคารพหลวงปู่อย่างยิ่ง จึง

ยึดมั่นและทุ่มเท สอนสมาธิ เผยแผ่วิชชาธรรมกาย อบรมขัดเกลาผู้ที่เข้ามาฝากตัวเป็นลูกศิษย์ด้วยความเมตตาและตั้งใจจริง

เมื่อมีศิษย์ผู้ร่วมอุดมการณ์จำนวนหนึ่งแล้ว คุณยายจึงได้นำหมู่คณะมาสร้างบุญ ถานไว้สำหรับรองรับผู้มีบุญบารมี และพร้อมที่จะดำเนินรอยตามปฏิปทาของพระเดชพระคุณหลวงปู่วัดปากน้ำสืบไป ณ บริเวณท้องทุ่งรังสิต จังหวัดปทุมธานี ภายหลังได้กลายมาเป็นวัดพระธรรมกาย ที่มีผู้มาประพฤติปฏิบัติธรรมจำนวนเรือนแสน และมีการเผยแผ่พระพุทธศาสนาวิชชาธรรมกายไปทั่วโลก โดยมีพระราชภาวนาวิสุทธิ์ (หลวงพ่อธัมมชโย) เป็นผู้นำในการสานต่อปณิธานของหลวงปู่วัดปากน้ำจนเป็นรูปธรรมปรากฏชัดอยู่ในขณะนี้

Complete and Continue