This course was created with the
course builder. Create your online course today.
Start now
Create your course
with
Autoplay
Autocomplete
Previous Lesson
Complete and Continue
SB405 ชาดกวิถีนักสร้างบารมี : Jatakas : The Pursuit of Perfections
Introduction
ปฐมนิเทศก่อนเรียน จากครูไม่ใหญ่ (6:03)
เพลงประจำมหาวิทยาลัยธรรมกาย แคลิฟอร์เนีย (DOU) (3:43)
บทนำชุดวิชาSB405 วิถีนักสร้างบารมีโดย พระมหาอนุสรณ์ สรณงฺกโร (54:05)
หนังสือชาดก วิถีนักสร้างบารมี
หนังสือทศชาติชาดก
บทที่ 1 ชาดกในหมวดทานบารมี
แบบประเมินตนเองก่อนเรียนบทที่ 1
บทที่ 1 ชาดกในหมวดทานบารมี
พระเวสสันดร ผู้ยิ่งด้วยทานบารมี ตอนที่ 01-110
วิเคราะห์เวสสันดรชาดก ฯลฯ โดย พระมหาอนุสรณ์ สรณงฺกโร (82:49)
แบบประเมินตนเองหลังเรียนบทที่ 1
บทที่ 2 ชาดกในหมวดศีลบารมี
แบบประเมินตนเองก่อนเรียนบทที่ 2
บทที่ 2 ชาดกในหมวดศีลบารมี
ภูริทัตนาคราช ผู้ยิ่งด้วยศีลบารมี ตอนที่ 01-55
วิเคราะห์ภูริทัตชาดก ฯลฯ โดย พระมหาอนุสรณ์ สรณงฺกโร (86:16)
แบบประเมินตนเองหลังเรียนบทที่ 2
บทที่ 3 ชาดกในหมวดเนกขัมมบารมี
แบบประเมินตนเองก่อนเรียนบทที่ 3
บทที่ 3 ชาดกในหมวดเนกขัมมบารมี
พระเตมีย์ ผู้ยิ่งด้วยเนกขัมมบารมี ตอนที่ 01-22
วิเคราะห์เตมิยชาดก ฯลฯ โดย พระมหาอนุสรณ์ สรณงฺกโร (62:27)
แบบประเมินตนเองหลังเรียนบทที่ 3
บทที่ 4 ชาดกในหมวดปัญญาบารมี
แบบประเมินตนเองก่อนเรียนบทที่ 4
บทที่ 4 ชาดกในหมวดปัญญาบารมี
มโหสถบัณฑิต ผู้ยิ่งด้วยปัญญาบารมี ตอนที่ 001-200
วิเคราะห์ปัญญาบารมี โดย พระมหาอนุสรณ์ สรณงฺกโร (98:46)
แบบประเมินตนเองหลังเรียนบทที่ 4
บทที่ 5 ชาดกในหมวดวิริยบารมี
แบบประเมินตนเองก่อนเรียนบทที่ 5
บทที่ 5 ชาดกในหมวดวิริยบารมี
พระมหาชนก ผู้ยิ่งด้วยวิริยบารมี ตอนที่ 01-22
วิเคราะห์วิริยะบารมี โดย พระมหาอนุสรณ์ สรณงฺกโร (71:44)
แบบประเมินตนเองหลังเรียนบทที่ 5
บทที่ 6 ชาดกในหมวดขันติบารมี
แบบประเมินตนเองก่อนเรียนบทที่ 6
บทที่ 6 ชาดกในหมวดขันติบารมี
พระจันทกุมาร ผู้ยิ่งด้วยขันติบารมี ตอนที่ 01-26
วิเคราะห์จันทชาดก โดย พระมหาอนุสรณ์ สรณงฺกโร (35:30)
แบบประเมินตนเองหลังเรียนบทที่ 6
บทที่ 7 ชาดกในหมวดสัจจบารมีานบารมี
แบบประเมินตนเองก่อนเรียนบทที่ 7
บทที่ 7 ชาดกในหมวดสัจจบารมีานบารมี
วิธุรบัณฑิต ผู้ยิ่งด้วยสัจบารมี ตอนที่ 01-39
วิเคราะห์วิทูรชาดก โดย พระมหาอนุสรณ์ สรณงฺกโร (77:14)
แบบประเมินตนเองหลังเรียนบทที่ 7
บทที่ 8 ชาดกในหมวดอธิษฐานบารมี
แบบประเมินตนเองก่อนเรียนบทที่ 8
บทที่ 8 ชาดกในหมวดอธิษฐานบารมี
พระเนมิราช ผู้ยิ่งด้วยอธิษฐานบารมี ตอนที่ 01-17
บทที่ 8 เนมิราชชาดกก วิเคราะห์ชาดก (20:34)
แบบประเมินตนเองหลังเรียนบทที่ 8
บทที่ 9 ชาดกในหมวดเมตตาบารมี
แบบประเมินตนเองก่อนเรียนบทที่ 9
บทที่ 9 ชาดกในหมวดเมตตาบารมี
สุวรรณสาม ผู้ยิ่งด้วยเมตตาบารมี ตอนที่ 01-19
บทที่ 9 วิเคราะห์สุวรรณสามชาดก (32:39)
แบบประเมินตนเองหลังเรียนบทที่ 9
บทที่ 10 ชาดกในหมวดอุเบกขาบารมี
แบบประเมินตนเองก่อนเรียนบทที่ 10
บทที่ 10 ชาดกในหมวดอุเบกขาบารมี
มหาพรหมนารทะ ผู้ยิ่งด้วยอุเบกขาบารมี ตอนที่ 01-31
บทที่10 วิเคราะห์นารทชาดก (24:23)
แบบประเมินตนเองหลังเรียนบทที่ 10
บทที่ 11 บทเสริม
บทที่ 11 บทเสริม
11.1 สังขจักรพรรดิราช
11.2 นารทมาณพ
11.3 โพธิมหาเสนาบดี
บทที่ 11 สรุป ชุดวิชาชาดก วิถีนักสร้างบารมี โดยพระมหาอนุสรณ์ สรณฺงกโร (42:27)
บทที่ 12 บทสรุปบารมี 10 ทัศ
เพลง บารมี 10 ทัศ (2:43)
บทที่ 12 บทสรุปบารมี 10 ทัศ
1) ทานบารมี ศีลบารมี (14:37)
2) เนกขัมบารมี (14:12)
3) ปัญญาบารมี (10:48)
4) วิริยบารมี (14:54)
5) ขันติบารมี ตอนที่ 1 (11:27)
5) ขันติบารมี ตอนที่ 2 (13:56)
6) สัจจบารมี (11:36)
7) อธิษฐานบารมี (6:19)
8) เมตตาบารมี (9:12)
9) อุเบกขาบารมี (11:22)
10) บารมี 3 ระดับและการสร้างบารมีในเชิงปฏิบัติ (28:17)
11.1 สังขจักรพรรดิราช
สังขจักรพรรดิราช
ในอดีต ณ เมืองอินทปัตถ์ มีพระเจ้าจักรพรรดิทรงพระนามว่าสังขะ ทรงปกครองโลกด้วยรัตนะทั้ง 7 อยู่มาวันหนึ่ง มีบุรุษหนุ่มผู้หนึ่งนุ่งห่มผ้าอันพิสดารต่างจากชาวเมืองทั้งหมด ผ้าที่บุรุษนี้นุ่งเป็นผ้าสีเดียวตลอดทั้งผืน มองไกลๆ คล้ายดั่งกองเพลิงสว่างไสว ชาวบ้านเห็นบุรุษนี้ห่มผ้าทั้งยาวทั้งใหญ่สะบัดไปตามลม เกิดหวาดหวั่นคิดว่าเป็นยักษ์ร้าย ช่วยกันเอาไม้ไล่ตี บุรุษนั้นรีบเดินหลบเลี่ยงพัลวันไปตลอดทาง จนเข้าไปในเขตพระราชวัง พลันได้พบกับสังขจักรพรรดิราช นับว่ามีโชควาสนาอย่างยิ่ง แต่มิใช่โชควาสนาของบุรุษหนุ่ม กลับเป็นโชควาสนาของพระเจ้าจักรพรรดิ!
"ท่านมาหาเรา ท่านมีนามกระไรหรือ" พระเจ้าจักรพรรดิตรัสถาม
"ข้าแต่มหาราช อาตมาภาพชื่อว่าสามเณร"สามเณรทูลตอบ
"ใครขนานนามนี้ให้ท่าน" พระเจ้าจักรพรรดิตรัสถาม
"อาจารย์ของอาตมาภาพให้นามแก่อาตมาภาพ"สามเณรทูลตอบ
"อาจารย์ของท่านมีนามว่ากระไร" พระเจ้าจักรพรรดิตรัสถาม
"อาจารย์ของอาตมาภาพชื่อว่า ภิกษุ"สามเณรทูลตอบ
"อาจารย์ของท่านทำไมมีนามว่าภิกษุ" พระเจ้าจักรพรรดิตรัสถามด้วยแววพระเนตรปีติ
"มหาบพิตร! ภิกษุเป็นชื่อเรียกของพระสงฆ์ซึ่งเป็นรัตนะที่หาค่าไม่ได้"สามเณรทูลตอบ
พระราชาเหมือนทรงมั่นพระทัยในบางอย่าง รีบเหาะขึ้นจากบัลลังก์ไปลงเบื้องหน้าสามเณรพริบตานั้น ดอกปทุมเท่าล้อรถชำแรกปฐพีรองรับเท้าพระสังขจักรพรรดิ ทรงประทับนั่งประคองอัญชลีไหว้สามเณร ตรัสถามด้วยปีติที่ค่อยๆ ทะลักท่วมท้นว่า..
"สามเณรผู้เจริญ! ใครกันเล่าที่ให้นามคำว่าพระสงฆ์ แก่อาจารย์ของท่าน"
พระเจ้าจักพรรดิแม้ตรัสถาม แต่เหมือนทรงรอคอยการยืนยันคำตอบในพระทัยสามเณรทูลตอบว่า..
"ผู้ประทานนามพระสงฆ์ก็คือ พระสัมมาสัมพุทธเจ้าผู้ทรงพระนามว่าสิริมัตตะ"
เป็นจริงดังคาด! ตลอดเวลามา พระเจ้าจักรพรรดิเฝ้ารอคอยสดับข่าวคราวของพระรัตนตรัยตามคำโบราณมาตลอด ทรงเชื่อว่ามีจริงแต่ไม่รู้ลักษณะเป็นอย่างไร และอยู่ที่ใดในจักรวาล ดังนั้นทันทีที่ได้ยินคำว่า พุทธะ เท่านั้น พระวรกายของพระองค์มิอาจรองรับปีติมากมายปานนี้ได้ถึงกับวิสัญญีภาพไปแล้ว ทรงฟื้นขึ้นมาตรัสถามทันทีถึงที่ประทับของพระสัมมาสัมพุทธเจ้า เมื่อทรงทราบว่าอยู่ห่างไปทางทิศเหนือจากนี้ไป 16 โยชน์ จึงสละจักรพรรดิสมบัติ แล้วออกจากพระนครไปทันที
พระองค์ทรงดำเนินไปด้วยพระบาทเปล่า เพราะบัดนี้สมบัติของพระองค์มีแต่พระบาทและพระสรีระกายเท่านั้น พระองค์ทรงเป็นสุขุมาลชาติอย่างยิ่ง เพราะเพียงวันเดียวเท่านั้น พระบาททั้งสองของพระองค์ก็แตกจนพระโลหิตไหลท่วมพระบาท ทรงใช้พระชงฆ์ดำเนินแทนพระบาท(เดินเข่า)ต่อไป
เข้าสู่วันที่ 4 แล้ว.. พระโลหิตได้ไหลนองท่วมพระวรกายจนแดงฉานไปทั้งพระสรีระ พระองค์มิอาจใช้พระชงฆ์และพระหัตถ์ได้อีกต่อไปแล้ว แต่ยังทรงไม่ย่อท้อ ทรงมุ่งการได้เฝ้าพระพุทธเจ้าเป็นสำคัญ พระองค์ทรงใช้พระอุระ(อก)ดำเนินต่อไปด้วยพระหฤทัยที่มุ่งมั่นเด็ดเดี่ยว ระยะทางยังเหลืออีกยาวไกล ไม่มีทีท่าว่าพระองค์จะเสด็จไปถึงได้เลย ระหว่งทางนั้นเอง มีรถคันหนึ่งผ่านมา..
"ท่านผู้เจริญ! ท่านหลีกทางไปก่อน เราจะขับรถผ่านไป"สารถีกล่าว
พระราชาทรงไถพระอุระไป พลางทอดพระเนตรนายสารถี แล้วกล่าวว่า..
"ท่านสารถี เราดำเนินตามทางอันสมควรแล้ว ทำไมจะต้องถอยหลีก เรายึดถือพระพุทธเจ้าเป็นประมุข เส้นทางนี้เราใช้ดำเนินไปเฝ้าพระพุทธเจ้า หากท่านจะไปก็นำรถทับร่างของเราผ่านไปได้เลย เราจะไม่หลีกทางให้ท่านเด็ดขาด!"
"ถ้าท่านจะไปเฝ้าพระพุทธเจ้า ขอท่านจงขึ้นรถของเรา เราก็จะไปยังที่อยู่ของพระพุทธเจ้า"
พระเจ้าจักรพรรดิเสด็จขึ้นรถ รถได้มาถึงอารามที่ประทับของพระผู้มีพระภาคเจ้าแล้ว พระพุทธองค์ทรงประทับอยู่ในอาราม พระเจ้าจักรพรรดิรีบเสด็จลงจากรถเข้าไปในอาราม เพียงแค่เห็นแสงพุทธรัศมีวูบแรกเท่านั้น ยังมิทันก้าวพระบาทต่อไป ทรงปีติถึงกับวิสัญญีภาพไปอีก ทรงฟื้นแล้ว เสด็จเข้าไปใกล้พระบรมศาสดาประคองอัญชลีกราบทูลชื่นชมพระผู้มีพระภาคเจ้าว่า..
"ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ พระองค์เป็นนายกของโลก พระองค์ทรงเป็นที่พึ่งของชาวโลก ขอพระองค์โปรดทรงแสดงธรรมอันสูงสุดของพระองค์สักกัณฑ์หนึ่งเถิด พระเจ้าข้า"
พระบรมศาสดาทรงแสดงธรรมด้วยพระนิพพานอันเป็นธรรมอันยิ่ง พระราชาทรงเลื่อมใสในธรรมบทนั้นยิ่งนัก เป็นเหมือนกับฝนตกลงมาในฤดูแล้งแผ่นดินแห้งผาก เกินกว่าที่พระองค์จะระงับความปีติเอาไว้ได้ จึงทรงดำริว่า นิพพานนี้เป็นธรรมเอกอุ เราจะถวายทานอย่างเอกของเราเพื่อบูชาธรรมนี้ ทูลพระบรมศาสดาว่า..
"ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญในเมื่อพระองค์ทรงแสดงพระนิพพานซึ่งเป็นธรรมสูงสุดของสรรพธรรมแม้ข้าพระองค์ก็จะตัดศีรษะอันเป็นอวัยวะสูงสุดของอวัยวะทั้งปวงของข้าพระองค์ เพื่อบูชาธรรมเอกของพระองค์ ขอพระองค์ทรงบรรลุอมตธรรมก่อนเถิด ด้วยผลแห่งทานนี้ ข้าพระองค์ขอบรรลุพระนิพพานในภายหลัง"
แล้วทรงใช้พระนขา(เล็บ)ออกแรงด้วยพละกำลังดุจช้างสารของพระองค์ตัดพระเศียร วางไว้บนฝ่าพระหัตถ์ถวายบูชาพระพุทธองค์ แล้วได้จุติไปบังเกิดในดุสิตเทวโลก
ด้วยผลแห่งพระโลหิตที่หลั่งไหลออกจากพระเศียร ทำให้ท่านผู้นี้จะมีรัศมีตั้งแต่อเวจีนรกจนถึงภวัคคพรหม ชนทั้งหมดที่มิได้เห็นรูปกายมหาบุรุษของพระโคดมสัมมาสัมพุทธเจ้า แต่ได้ทำทานรักษาศีล เจริญภาวนาในพระพุทธศาสนา จะสามารถอุบัติในสำนักของท่านผู้นี้ในกาลต่อมาได้เพราะท่านผู้นี้จะมาครอบครองกายมหาบุรุษ ผู้ทรงพระนามว่า "อริยเมตไตรยะ"
-----------------------------------------------
Complete and Continue